การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในกทม.ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จอันดับสุดท้าย รองลงมาคือจังหวัดภูเก็ต
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองกล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมแก้ปัญไขหาการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระยะที่2จังหวัดภูเก็ตว่าปัจจุบันกองทุนทั่วประเทศมีทั้งหมด 97,255 กองทุนและมีอยู่ประมาณ 3,000 กองทุน ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทางสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องแยกย้ายกันไปทำภารกิจประชุมชี้แจง รับทราบปัญหาและมาช่วยคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ ได้อย่างไร เพื่อให้ทันการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ นอกจากนี้การเพิ่มทุนระยะที่ 2 ที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะมอบเงินเพิ่มทุนให้กับกองทุนหมู่บ้าน ทั้งหมดให้แล้วเสร็จประมาณสิ้นเดือน กันยายนคือปีงบประมาณนี้ อย่างไรก็ดี การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในกรุงเทพมหานคร จากการติดตามผลในช่วงที่ผ่านมาปรากฏว่า เป็นจังหวัดที่ประสบผลสำเร็จอันดับสุดท้าย รองลงมาคือที่จังหวัดภูเก็ต
สำหรับการประชุมผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน คือ จังหวัดภูเก็ต พังงา และจังหวัดกระบี่ปรากฏว่า เหตุผลของการจดทะเบียนนิติบุคคลไม่ได้ส่วนใหญ่ค่อนข้างตรงกัน คือมีหนี้ค้างชำระเกินกว่าร้อยละ 20 ประธานคณะกรรมการกองทุนเองที่จะมาเป็นคนรับผิดชอบหรือให้เอกสารในการที่จะมาดูระบบของบัญชี มีข้อบกพร่องอยู่ คืออาจจะตามตัวไม่ได้หรือไม่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งเรื่องของบัญชี เพราะบัญชีทั้งหมดไม่ได้มีการทำสืบเนื่องกันเริ่มตั้งแต่ปี 2544 หรือไม่มีการทำทุกอย่างให้เป็นปัจจุบัน จนกระทั่งถึงปี 2552-2553 จึงเกิดปัญหาในการหาเอกสารค่อนข้างยาก
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองกล่าวว่าที่จังหวัดพังงามีการนำเสนอว่าทางคณะอนุกรรม การฯเมื่อรับฟังความคิดเห็นเสร็จแล้ว ขอผ่อนผันโดยมติของคณะกรรมการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำหรับเรื่องการขอขยายการชำระบัญชี เช่น ลูกหนี้ค้างแต่ละจังหวัดสามารถตั้งคณะกรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือปรับโครงสร้างหนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น มีลูกหนี้จริงขอให้เอาลูกหนี้มาเซ็นรับรองภาระหนี้ที่ตัวเองเป็นหนี้อยู่ไม่ใช่ถือว่าเป็นหนี้ค้างชำระเป็นต้นโดยจะขอผ่อนผันในสิ่งเหล่านี้ ทางคณะกรรมการคิดว่า มีทางออกและน่าจะดำเนินการไปได้ และในช่วงที่ผ่านมามีการทำไปประมาณ1- 2 สัปดาห์ ปรากฏว่าได้ผลและทางคณะอนุกรรมการจังหวัดจังหวัดพังงากับจังหวัดกระบี่ได้ลงมือทำ จากการตรวจสอบข้อมูลพบลูกหนี้กองทุนบางส่วนที่ยังเป็นข้าราชการอยู่ และควรที่จะนำเงินมาผ่อนส่งด้วย
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองกล่าวด้วยว่าขอผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการจังหวัดหรือนายอำเภอช่วยไปเคลียร์ผู้ใต้บังคับบัญชาก่อน เพราะในฐานะที่เป็นข้าราชการไม่มีสิทธิที่จะทำเพิกเฉยต่อหนี้ของตัวเอง โดยให้มาเซ็นรับสภาพหนี้ให้เรียบร้อยเพื่อให้สามารถทำบัญชีต่อไปได้ หรือว่าเป็นข้าราชการที่อยู่ในสายฝ่ายปกครองไม่ว่าจะเป็น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนันผู้ใหญ่บ้านเองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตาม ถ้ายังไม่สามารถมาเคลียร์หนี้ในกองทุนหมู่บ้าน เมื่อต้องการสมัครรับเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ พิจารณาคุณสมบัติแล้วอาจจะไม่ครบ และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ในเรื่องนี้ต้องประกาศให้ประชาสังคมมาร่วมกันสานงานต่องานในหมู่บ้านให้แล้วเสร็จ
ส่วนในกรณี ที่ไม่ประสงค์จะเพิ่มทุน ทางราชการก็ไม่ขัดข้อง สามารถทำหนังสือแจ้งให้คณะกรรมฯได้ และเมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไปแล้วหากรัฐมีนโยบายอื่นๆที่จะต้องส่งผ่านทางกองทุนหมู่บ้านประชาชนผู้เกี่ยวข้องจะได้ไม่เสียโอกาสอย่างไรก็ดีกองทุนใดก็ตามที่ไม่สามารถดำเนินการอาจจะมีการฟ้องร้องใช้มาตรา 12 เพื่อยุบเลิกกองทุนนั้น ๆ ไป แต่ต้องให้สมาชิกในหมู่บ้านได้รับทราบเหตุการณ์นี้ เพื่อตัดสินร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ประธานกรรมการหรือสมาชิกกองทุนที่กู้ไปไม่ยอมใช้หนี้ เพราะไม่เช่นนั้น สมาชิกส่วนใหญ่ จะเสียโอกาสเช่นเดียวกัน
#
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น