วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ลดการตีตราพนักงานบริการ ลดการแพร่โรคร้าย


สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เชิญนักวิชาการ ให้แนวคิด ลดการตีตราพนักงานบริการ มุ่งหวังให้ตัวแทนสื่อมวลชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหัวหอกสื่อสารที่สร้างสรรค์และ ให้สู่ระบบการตรวจรักษาที่ถูกต้อง ลดการแพร่โรคร้าย

เมื่อเช้าวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ ที่ห้องประชุม 1สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต รองศาสตราจารย์ศุภรัตน์ รัตนมุขย์ อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในการประชุมการสร้างความตระหนักในการดำเนินงานการป้องกันเอชไอวี ในกลุ่มพนักงานบริการ ซึ่งเป็นไปตามโครงการการขับเคลื่อนเชิงนโยบายในพื้นที่และการสร้างความตระหนักในการดำเนินงาน การป้องกันเอชไอวีในกลุ่มพนักงานบริการ โดยมีตัวแทนสื่อมวลชนรวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดร่วมประชุมด้วย

รองศาสตราจารย์ศุภรัตน์ รัตนมุขย์ อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยา ลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่ามีการจัดประชุมในพื้นที่ 4-5จังหวัด ที่มีทั้งการจัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมด้วยหรือ รับผิดชอบดำเนินการด้วยตนเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มสื่อมวลชนและตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆมีความเข้าใจในเรื่องของการลดการตีตรา(STIGMA)ในกลุ่มพนักงานบริการ ทั้งนี้หากผู้ร่วมประชุมมีความใจในเรื่องนี้ว่ามีประโยชน์และให้ความสำคัญในการสื่อสาร โดยเฉพาะประเด็นการตีตรา ในกลุ่มนี้ที่เกี่ยวข้องกับการรังเกียจอะไรต่างๆ จะส่งผลในทางลบและทำให้กลุ่มพนักงานบริการ ขาดการป้องกันดูแลตนเองหรือหลบเลี่ยง ไม่ได้ไปตรวจสุขภาพหรือรักษาพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวหญิงที่เริ่มลักลอบขายบริการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตบางส่วนแล้ว

นอกจากนี้รองศาสตราจารย์ศุภรัตน์ กล่าวด้วยว่าเมื่อกลุ่มพนักงานบริการไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับตัวเอง จะมีส่วนเกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือโรคเอดส์ ดั้งนั้นถ้าสื่อมวลชน และตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปขยายผลหรือสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเป้า หมาย ที่อยู่ในสถานบริการให้มีความรู้และความตระหนักในความสำคัญของการรักษาพยาบาลที่ถูกวิธี รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหรือ Safe Sex แม้ว่าจะมีการขายบริการทางเพศก็ตาม

อย่างไรก็ดีในที่นี้การประชุม ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการขายบริการทางเพศแต่อย่างใด และอาชีพโสเภณี เป็นอาชีพที่มีมานานแล้วและจะอยู่คู่สังคมโลกต่อไป ในขณะที่ในบางประเทศทางแถบยุโรป เช่นประเทศเนเธอร์แลนด์ ทางการกำหนดให้มีการประกอบอาชีพนี้ในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งมีสัญลักษณ์ม่านรูดสีแดง หรือหลอดไฟสีแดง และผู้ให้บริการทางเพศเหล่านี้ จะต้องไปรายงานตัวและตรวจสุขภาพเป็นระยะๆ พร้อมกับจะต้อง เสียภาษีเข้ารัฐด้วย

สำหรับการจัดประชุมในพื้นที่เป้าหมายต่างๆทุกภูมิภาคทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น และในหลายจังหวัดมีการดำเนินการในเชิงลึก เพราะมีการวิเคราะห์สาเหตุและคิดวิธีการเอาไปเผยแพร่ป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุขที่อาจจะเกิดขึ้น และการที่มาร่วมประชุมและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและรวบรวมข้อมูลนำไปเผยแพร่ให้ความรู้หรือนำถุงยางอนามัยไปแจกในกลุ่มเสี่ยง ล้วนเป็นระบบของการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือโรคเอดส์ที่มีประสิทธิภาพทั้งนั้น ส่วนเจ้าหน้าที่และวิทยากร เป็นเพียงบุคคลที่มาเสริมทางด้านเทคนิควิธีการบางส่วนเท่านั้น
#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น